if (e.which == 3) { alert(message);return false; }}} if (document.layers) {document.captureEvents(Event.MOUSEDOWN); }document.onmousedown=click; // -->

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Save time 10 Tuesday Date 13 October 2015


Diary notes.


Knowledge.

การสอนแบบสืบเสาะ
          
           การสืบเสาะหาความรู้ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติ และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือ
           
      รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es) 
             การเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles หรือ 5Es มีขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ Engage Explore Explain Elaborate และ Evaluate ดังนี้

Inquiry Cycles (5Es)
     
     1. การสร้างความสนใจ (Engage) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ
     2. การสำรวจและค้นคว้า (Explore) นักเรียนดำเนินการสำรวจ ทดลอง ค้นหา และรวบรวมข้อมูล วางแผนกำหนดการสำรวจตรวจสอบ หรือออกแบบการทดลอง
     3. การอธิบาย (Explain) นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ และค้นหามาวิเคราะห์ แปลผล สรุปและอภิปราย พร้อมทั้งนำดสนอในรูปแบบต่างๆ
     4. การขยายความรู้ (Elaborate) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่นๆ 
     5. การประเมิน (Evaluate) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ นำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ

การจัดการเรียนรู้แบบ STEM
           

          คำว่า สะเต็ม หรือ STEM เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ทั้ง 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึง องค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้ง 4 ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ควารู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน

ทักษะทางวิทยาศาสตร์ตามกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์



กิจกรรม 
           อาจารย์ให้นักศึกษาเลือกของเล่นวิทยาศาสตร์ 1 ชื้น และสำรวจ วิเคาระห์วิธีการเล่นของเล่นชิ้นนั้น จากนั้นให้นักศึกษาออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

ของเล่นที่เลือก ประกอบด้วยกล่อง สายยาง และลูกปัดรูปทรงต่างๆ

ผู้เล่นมี 2 คน โดยนำสายยางวางบนกล่อง และนำลูปปัดหย่อนใส่
ดังภาพ


นำกล่องตั้ง และเป่าลูกปัดในสายยางให้กระเด็นชนกล่อง
ออกแรงเป่าจนกล่องล้ม

แนวคิดทางวิทยาศาสตร์

  • วัตถุจะไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ
  • แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ 
ความรู้เพิ่มเติม
      เทคนิค / วิธีการบูรณาการการเรียนการสอน ผ่านสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
เรื่อง แม่เหล็ก
     1.  วิธีการ ครูใช้แม่เหล็กดูดสิ่งของที่เป็นโลหะ และไม่ใช่โลหะ 
          เด็กเกิดการเรียนรู้ว่า แม่เหล็กสามารถดูดโลหะได้ แต่ไม่สามารถดูดของที่ไม่ใช่โลหะ
     2.  วิธีการ ครูใช้แม่เหล็ก 4 ก้อน โดยหันขั้วที่เหมือนกันให้ดูดกันและขั้วที่ต่างกันดูดกัน
          เด็กเกิดการเรียนรู้ว่า แม่เหล็กขั้วที่เหมือนกันจะผลักกัน และแม่เหล็กขั้นที่ต่างกันจะดูดกัน

เรื่อง แรง
          วิธีการ ครูใช้วัสดุ 2 ชนิด ที่มีน้ำหนักต่างกัน
          เด็กเกิดการเรียนรู้ว่า วัสดุที่หนักจะเคลื่อนที่ช้ากว่าวัสดุที่เบา

เรื่อง แสง
          วิธีการ ครูใช้วัสดุทึบแสงให้แสงผ่าน
          เด็กเกิดการเรียนรู้ว่า แสงผ่านวัสดุทึบแสง ทำให้เกิดเงา


นำเสนอ 
      - สิ่งประดิษฐ์ ของเล่นวิทยาศาสตร์
       - กิจกรรมการทดลอง
       - ของเล่นมุมวิทยาศาสตร์

หน่วย : ต้นไม้แสนรัก
      สิ่งประดิษฐ์ กังหันลมจากไม้ไอติม



      กิจกรรมการทดลอง สีจากธรรมชาติ



      ของเล่นมุมวิทยาศาสตร์ เครื่องเขย่า จากเมล็ดพืช




       การประสิษฐ์สื่อที่ทำจากธรรมชาติ และวัสดุเหลือใช้ ทำให้เด็กรู้คุณค่าของสิ่งของ รู้จักประหยัด ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งต่างๆ รอบตัว
           

skills.
  
    1. skills ด้าน Technology
        1.1 การ Search Information จาก Internet
        1.2 การจัดทำแผนที่ความคิด My mapping สรุป Knowledge
    2. skills ด้านความคิด
        2.1 การแสดงความคิดอย่างอิสระ กล้าคิด และคิดเป็น
    3. skills การนำเสนอ
    การนำเสนอบทความของเพื่อนเลขที่ 15 14 และ 13
     
     นางสาวสุธิณี โนนบริบูรณ์ เลขที่ 15
         บทความ เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยให้คิดเป็น
         สรุป ครูพัชรา อังกูรขจร ได้รับการอบรบจาก สสวท. นำไปขยายผลสู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ทั้งพี่เลี้ยง ครูฝึกปฏิบัติการสอน และจัดอบรมให้ผู้ปกครองเรื่องการจัดประสบการณ์บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัย รร.บ้านแม่ละเมา ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ "เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง" กับเด็กชั้นอนุบาล 2 โดยเน้นการคิดวิเคราะห์ ผ่านกระบวนการสืบเสาะ 4 ขั้นตอน นอกจากเด็กจะสนุกสนานแล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่ายๆ โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม และที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุ่นค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนเอาไว้ให้ยั่งยืน 

     นางสาวสุธิกานต์ กางพาพันธ์ เลขที่ 14
        บทความ เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร? เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันนักวิทยาศาสตร์น้อย 2556
        สรุป "โครงการบ้านนักวิทยาศษสตร์น้อย เป็นโครงการที่พัฒนากิจกรรมสำหรับเด็กระดับปฐมวัยในด้านกระบวนการคิด สร้างพื้นฐานความพร้อมในการพัฒนาต่อยอดไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ สสวท. ดังนั้น สสวท. "


      นางสาวเจนจิรา เทียมนิล เลขที่ 13
          บทความ เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงแม่เหล็ก
          สรุป การจัดกิจกรรรมการเรียนรู้เรื่องแรงแม่เหล็กให้แก่เด็กปฐมวัย จะเป็นเรื่องที่ท้าทายให้เด็กสนใจติดตามผลการทดลอง และนำความรู้ไปสร้างสรรค์ของเล่นของใช้อย่างแน่นอน การสอนเรื่องแรงแม่เหล็กเป็นเรื่องแปลกสำหรับเด็ก กระตุ้นความตื่นเต้นและเร้าใจของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี และยังสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี ได้กำหนดสาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไว้คือ สาระที่ 4: แรงและการเคลื่อนที่ เด็กสามารถเรียนรู้และมีประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนสามารถเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และผลจากการที่เด็กได้สัมผัสและกระทำ จะทำให้ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของเด็กพัฒนา ดังนั้น การเรียนเรื่องแรงแม่เหล็ก เด็กจะได้ใช้ประสาทสัมผัสกระทำผ่านกิจกรรมต่างๆ จะเกิดประโยชน์ให้เด็กมีพัฒนาการตามวัย กิจกรรมที่ครอบครัวควรจัดให้ลูกรู้เรื่องแม่เหล็ก ผ่านการทำให้ดู ชี้แนะให้เห็น สนับสนุนให้เด็กสัมผัส ทดลองจากการเล่นที่ปลอดภัย จะช่วยส่งเสริมให้เด็กเข้าใจเรื่องแรงแม่เหล็ก อีกทั้งเป็นการตอบสนองความสนใจของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี



Teaching methods.
     
     อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิด เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และอธิบายเพิ่มเติมจากคำตอบของนักศึกษา



assessment.

classroom conditions. อากาศถ่ายเท มีอุณหภูมิพอเหมาะ เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา

self. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ใช้ ร ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง มีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน และตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น

friend. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

professor. อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น



แหล่งอ้างอิง

  • http://biology.ipst.ac.th/?p=688
  • http://www.stemedthailand.org/?page_id=23
  • https://forum.eduzones.com/topic/9033

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น