Save time 16 Tuesday Date 20 November 2015
Diary notes.
จัดแสดงนิทรรศการเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ "น้ำ" ผ่านนิทรรศการที่ร้อยเรียงการนำเสนอจากจุดกำเนิดของน้ำที่ล่อเลี้ยงระบบนิเวศและมนุษย์ และปลูกฝังจิตสำนึกการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า และการร่วมอนุรักษ์แหล่งน้ำ
นิทรรศการจากหน่วยงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
skills.
Knowledge.
การศึกษานอกห้องเรียน
มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
National
Science and Technology Fair 2558
"มหกรรมกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558" (National Science and Technologe Fair 2015) โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศษสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ภายใต้แนวคิด "จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม" ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองทานี
สะเต็มศึกษา
STEM
Education
สะเต็มศึกษา คืออะไร
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้ในสหวิทยาการได้แก่
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยเน้น
การนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง
รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
จุดประสงค์
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรัก
และเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์
และเห็นว่าวิชาเหล่านี้
เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็ม
มีลักษณะ 5 ประการ
ได้แก่
1. เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ากับกระบวนการทางวิศวกรรม
2. ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงเนื้อหาทั้ง
4
สาขาวิชากับชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ
3. เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่
21
4. ท้าทายความคิดของนักเรียน
5. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกันเนื้อหาทั้ง 4 วิชา
IPST LEARNING SPECE
ก้าวไปข้างหน้ากับ IPST Learning Spece "เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทษไทย"
IPST
Learning Space 6 ระบบหลัก หลักสูตร สื่อ มีคุณภาพ ถูกต้อง
ได้มาตรฐาน ครบถ้วน ทั้งการเรียนรู้ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ได้แก่
1.
ระบบโรงเรียน (School Module)
สำหรับบริหารจัดการหลักสูตร แผนจัดการเรียนรู้และข้อสอบในโรงเรียน
2.
ระบบอบรมครู (Teacher Training Module) แหล่งเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ที่ครูสามารถใช้พัฒนาศักยภาพด้านเนื้อหาและเทคนิคการสอน
3.
ระบบการสอบออนไลน์ (Online Testing System) ครูสามารถจัดชุดข้อสอบให้นักเรียนทำ
และนักเรียนก็สามารถจัดชุดข้อสอบตามหลักสูตร หรือตามความสนใจ
เพื่อวัดระดับความรู้ตัวเอง และทราบผลสอบทันที พร้อมเฉลยคำตอบ
4.
ระบบคลังสื่อดิจิทัล (Digital Media System)
สนับสนุนให้นักเรียนและบุคคลทั่วไปเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเอง
5.
ระบบสำนักพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Publishing) เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่ครูสามารถเรียนรู้เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยตัวเองและแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ด้วย
6. ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative
Learning) มีกระดานถาม - ตอบ ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือแบ่งปัน
และแลกเปลี่ยนความรู้อย่างสร้างสรรค์
สื่อการทดลอง
เสมือนจริง
Virtual Experiment
จากสภาพการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ในปัจจุบัน
พบว่า
ปัญหาส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากการที่ผู้เรียนไม่ได้ทำการทดลองจริง
โดยสาเหตุอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น มีทัศนคติทางลบต่อการเตรียมการทดลองที่ยุ่งมาก
ขาดแคลนอุปกรณ์การทดลองหรือมีจำนวนไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน
หรือมีเวลาเรียนไม่เพียงพอทำให้ผู้เรียนขาดทักษะกระบวนการที่จำเป็นต่อการเข้าใจวิชาฟิสิกส์ที่ถูกต้อง
ดังนั้นทางสาขาฟิสิกส์ สสวท. จึงมีความคิดที่จะช่วยแก้ไข
หรือลดปัญหาดังกล่าวด้วยการจัดทำสื่อที่มีชื่อว่า Virtual Experiment :
VE.
โดย Virtual Experiment
เป็นห้องปฏิบัติการเสมือน
ที่สร้างโดยการนำเทคโนโลยีมัลติมีเดียมาสร้างจำลองห้องปฏิบัติการ
เพื่อให้ผู้ที่ต้องการทำการทดลองได้เข้ามาใช้สื่อนี้ทำการทดลอง
ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทดลอง บันทึกผลการทดลอง การเรียนกราฟ
ทักษะการตีความหมายข้อมูล และลงข้อสรุป
อีกทั้งสื่อนี้ยังมีการประเมินผลการทำการทดลองของผู้เรียนด้วย
จุดเด่นของสื่อ VE. คือ
1. เป็นนวัตกรรมที่ช่วยกระตุ้นความสนใจในการทำการทดลองแก่ผู้เรียนด้วยรูปแบบสื่อที่ทันสมัยเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21
2. ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนทำการทดลองที่ใด
เวลาใดก็ได้ จนเกิดทักษะ ความเข้าใจและความมั่นใจในการทดลอง
3. ผู้เรียนสามารถทบทวนและใช้กระบวนการการหาความรู้ด้วยตนเองจนกระทั่งมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
เนื่องจากผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับสื่อได้
บรรยากาสงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
นิทรรศการวัฏจักรของสายน้ำ Water Pavilion |
นิทรรศการปีสากลแห่งแสง (UNESCO International Year of Light) |
เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองปีสากลแห่งแสง
ในแนวคิดแสงกับชีวิต (Light of Life) โดยสร้างนิทรรศการเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติและความสำคัญของแสง
และเน้นกิจกรรมที่ได้ทดลองและเรียนรู้สำหรับกลุ่มเยาวชน
รวมถึงนำเสนอการอธิบายปรากฏการณ์ของแสงในธรรมชาติรอบๆ ตัวเรา
นิทรรศการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก Climate Change |
สร้างความตระหนักสู่กลุ่มเป้าหมายถึงวิกฤติการที่เกิดขึ้นจากผลของ
“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก” ในหลากหลายมุมมอง
ผ่านชุดนิทรรศการที่เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ โดยนำเสนอผ่านทางโรงภาพยนตร์
ที่นำเสนอภาพของการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
เพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจ และเรียนรู้ไปอย่างกลมกลืน
นิทรรศการจากหน่วยงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นิทรรศการและกิจกรรมแสดงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
การศึกษาดูงานนอกห้องเรียนช่วยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สังเกต สำรวจและศึกษาสิ่งที่ตนเองชอบได้อย่างอิสระ เป็นแนวทางที่ดีอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เราผ่อนคลาย สบายใจในยอมที่เกิดความเครียดและยังช่วยให้เราปรับอารมณ์ตัวเอง จัดการกับปัญหาต่างๆ ที่อยู่รอบตัวได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เรามีความรับผิดชอบและรู้หน้าที่มากขึ้นกว่าเดิม และประการสำคัญในการศึกษานอกห้องเรียนทำให้เรากล้าที่จะเข้าร่วมกับสังคมมากยิ่งขึ้น
Teaching methods.
อาจารย์มีการแนะนำ และให้นักศึกษาออกไปดูงานนอกสถานที่แล้วนำความรู้ที่ได้มาจัดทำเป็นเล่มเอกสาร และบันทึกลงบล็อกเพื่อถ่ายทอด และเผยแพร่ความรู้แก่ผู้อื่น
assessment.
classroom conditions. บรรยาการภายในงานมีความทันสมัย ยิ่งใหญ่ มีการจัดแบ่งเป็นนิทรรศการต่างๆ อย่างหลายหลายและน่าสนใจ เช่น นิทรรศการเทิดพระเกียรติฯ Royal Pavilion นิทรรศการปีดินสากล (International Year
of Soils) นิทรรศการความหลากหลายทางชีวภาพ นิทรรศการปีสากลแห่งแสง (UNESCO
International Year of Light) นิทรรศการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก นิทรรศการวัฏจักรของสายน้ำ นิทรรศการ Digital Economy นิทรรศการวิทยาศาสตร์ในของเล่นภูมิปัญญาพื้นบ้านแห่ง
AEC นิทรรศการช้างไทย นิทรรศการเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอาหาร นิทรรศการจากหน่วยงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นิทรรศการต่างประเทศนิทรรศการจากหน่วยงานอื่นๆ
self. การเข้าชมมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ การแต่งกายสุภาพ ปฏิบัติตนเป็นผู้ร่วมงานที่ดี ใฝ่ศึกษาและร่วมกิจกรรมกับบูทนิทรรศการต่างๆ
professor. พี่ๆ ผู้ดูแลนิทรรศการมีความเป็นกันเอง ให้คำแนะนำและอธิบายถึงเนื้อหา กิจกรรมด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีความรู้และเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีจากการพูดจาที่คล่องแคล่ว ฉะฉาน มีความสุภาพ อ่อนน้อม และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น
professor. พี่ๆ ผู้ดูแลนิทรรศการมีความเป็นกันเอง ให้คำแนะนำและอธิบายถึงเนื้อหา กิจกรรมด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีความรู้และเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีจากการพูดจาที่คล่องแคล่ว ฉะฉาน มีความสุภาพ อ่อนน้อม และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น