Save time 3 Tuesday Date 25 August 2015
Diary notes.
หินและแร่ธาตุ
Knowledge.
หินและแร่ธาตุ
กิจกรรมในบทนี้จะเป็นการศึกษาความคิดรวบยอดต่อไปนี้
- หินมีหลาชนิด
- หินเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ จากการผุกร่อน
- หินที่แตกร่วนและพืชที่ตายแล้วจะกลายเป็นดิน
- พืชและสัตว์โบราณทิ้งร่องรอยไว้บนหิน
- แร่ธาตุตกผลึกได้
สร้างเสริมการเชื่อมโยงความคิดรวบยอด
การคงความคิดรวบยอดไว้ : การพูดถึงเรื่องหินทุกครั้งจะทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย ครูควรทำต่อเมื่อมีสิ่งแปลกใหม่ที่น่าพูดถึง เช่น เมื่อมีเด็กที่สวมใส่สร้อยข้อมือที่ทำด้วยหินแปลกตา ครูจึงให้เด็กออกมาพูดถึงหินชนิดนี้ และเมื่อครูพบเห็นหินที่น่าสนใจให้นำมาให้เด็กดู พูดถึงผิวสัมผัส สี และลักษณะที่ทำให้น่าติดใจ
การเชื่อมโยงความคิดรวบยอด : การพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดดินกับการปลูกพืช ผ่านการทดลองแล้วเปรียบเทียบการเพาะเมล็ดในผงหินป่นที่เด็กทุบกับดินดีที่อุดมด้วยซากพืชและสารอินทรีย์เน่าเปื่อย และพูดถึงการช่วยอนุรักษ์และทำให้ดินดีขึ้นด้วยซากพืชที่เน่าเปื่อยผุพังว่าเป็นวิธีหนึ่งที่คนเราจะช่วยให้โลกอยู่ในสภาพดีได้ตลอดไป
การสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน : ขอยืมหินแปลกๆ หรือฟอสซิลจากครอบครัวของเด็กมาให้ทั้งชั้นดู และผู้ปกครองอาจพาเด็กไปพิพิธภัณฑ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่จัดแสดงหินให้เด็กสามารถสำรวจจับต้องได้
อ้างอิงจาก :
การเกิดหิน
ก้อนหินส่วนใหญ่เป็นส่วนผสมของวัตถุหลายอย่าง วัตถุเหล่านี้เรียกว่า แร่ธาตุ ซึ่งเมื่อแร่ธาตุผสมกันในลักษณะต่างๆ ก็จะได้ก้อนหินชนิดต่างๆ
กิจกรรมบูรณาการ
กิจกรรมคณิตศาสตร์
การชั่งน้ำหนัก นำกระป๋องกาแฟที่ใส่ก้อนหินเต็ม 2 กระป๋องไปวางไว้ใกล้กับเครื่องชั่งน้ำหนักในห้องเรียน เพื่อให้เด็กชั่งก้อนหินอย่างอิสระ
กิจกรรมศิลปะ
ประติมากรรมก้อนหิน ให้เด็กสร้างประติมากรรมจากการต่อก้อนหินขนาดต่างๆ กันโดยใช้กาวสีขาวและหลังจากเสร็จแล้วอาจใช้สีฝุ่นลงให้สวยงาม นำไปใช้ทับกระดาษ
กิจกรรมการเล่น
แนะวิธีให้ใช้ก้อนหินเป็นของเล่นในกระบะทรายทั้งในและนอกห้องเรียน เช่น นำมาวางเรียงกันเป็นแถวเป็นผนังบ้าน เป็นต้น และเมื่อจะเก็บกวาดหลังเล่นเสร็จ เด็กมักจะสนุกกับการร่อนรายเพื่อแยกก้อนหินออก
กิจกรรมการเคลื่อไหวอย่างอิสระ
ให้เด็กทำท่า "เดินหิน" เช่น เดินเป็นวงกลมและท่าทางที่ครูสั่งตามจังหวะการตีกลองหรือปรบมือ ครูแนะวิธีการเคลื่อนไหวโดยเล่านิทาน เช่น "เราจะไปเที่วเดินหินกัน" สมมติให้เด็กเดินด้วยเท้าเปล่า เริ่มต้นเดินบนทางที่โรยกรวด โอ๊ะ! เหยียบลงไปบนก้อนหินแตกๆ นี้ลำบากจัง เราต้องเดินโหย่งๆ และเดินไปให้เร็วหน่อยจนสุดทางเดิน เอ้า ก้าว ก้าว ก้าว ค่อยยังชั่ว เรามาถึงทางเดินที่เป็นทรายแล้ว ทำท่าเดินต่างๆ เช่น เดินแตะ จนถึงที่พักค่อยๆ นั่งพัก
กิจกรรมความคิดสร้างสรรค์
ให้เด็กๆเอาก้อนหินก้อนโปรดชิ้นเล็กๆ มาโรงเรียน หรือเลือกก้อนที่ชอบจากในห้องเรียนก็ได้ให้เด็กถือและคลำดูรูปร่าง ผิวของก้อนหิน คราวนี้ปิดตาแล้วนึกภาพก้อนหินของตนเมื่อขยายใหญ่ 20 เท่า ใหญ่ขนาดที่เด็กขึ้นไปปีนสำรวจได้เลย เมื่อเอาเท้าไปสัมผัสรู้สึกอย่างไรบ้าง.. มือละ มีซอกหินให้สำรวจบ้างไหม พอหาที่เรียบๆนั่งได้หรือเปล่า จากนั้นค่อยให้ก้อนหินกลับมามีขนาดเท่าเดิมเพื่อนำเด็กกลับมาสู่ห้องเรียน
กิจกรรมอาหาร
เด็กจะประหลาดใจเมื่อรู้ว่าเรากินก้อนหินชนิดหนึ่งในปริมาณเล็กน้อบทุกวัน (เกลือ) นำเกลือสินเธาว์มาให้เด็กดู บอกเด็กว่าเกลือที่ขุดได้จากใต้ดินนั้นครั้งหนึ่งเคยเป็นเกลือจากมหาสมุทรในยุคโบราณทั้งสิ้น การเชื่อมโยงระหว่างหินกับอาหารคือการใช้ก้อนหินที่มีพื้นผิวหยาบมาใช้บดเมล็ดพืชเป็นแป้งหยาบๆ เป็นต้น
กิจกรรมทัศนศึกษา
เดินละแวงใกล้โรงเรียนเพื่อดูหินที่อยู่ในสภาพธรรมชาติ หินที่สกัดมาจากการสร้างเป็นอาคาร และผลิตภัณฑ์จากหินและแร่ธาตุ เข้าไปใกล้ๆ เพื่อดูหินในธรรมชาติ ดูรอยแตก หรือผิวหยาบเรียบเพราะต้องเผชิญกับความร้อน ความเย็น ลมและฝนนานนับปี
การคงความคิดรวบยอดไว้ : การพูดถึงเรื่องหินทุกครั้งจะทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย ครูควรทำต่อเมื่อมีสิ่งแปลกใหม่ที่น่าพูดถึง เช่น เมื่อมีเด็กที่สวมใส่สร้อยข้อมือที่ทำด้วยหินแปลกตา ครูจึงให้เด็กออกมาพูดถึงหินชนิดนี้ และเมื่อครูพบเห็นหินที่น่าสนใจให้นำมาให้เด็กดู พูดถึงผิวสัมผัส สี และลักษณะที่ทำให้น่าติดใจ
การเชื่อมโยงความคิดรวบยอด : การพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดดินกับการปลูกพืช ผ่านการทดลองแล้วเปรียบเทียบการเพาะเมล็ดในผงหินป่นที่เด็กทุบกับดินดีที่อุดมด้วยซากพืชและสารอินทรีย์เน่าเปื่อย และพูดถึงการช่วยอนุรักษ์และทำให้ดินดีขึ้นด้วยซากพืชที่เน่าเปื่อยผุพังว่าเป็นวิธีหนึ่งที่คนเราจะช่วยให้โลกอยู่ในสภาพดีได้ตลอดไป
การสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน : ขอยืมหินแปลกๆ หรือฟอสซิลจากครอบครัวของเด็กมาให้ทั้งชั้นดู และผู้ปกครองอาจพาเด็กไปพิพิธภัณฑ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่จัดแสดงหินให้เด็กสามารถสำรวจจับต้องได้
อ้างอิงจาก :
skills.
1. skills ด้าน Technology
1.1 การ Search Information จาก Internet
1.2 การจัดทำแผนที่ความคิด My mapping สรุป Knowledge
2. skills ด้านความคิด
1.2 การจัดทำแผนที่ความคิด My mapping สรุป Knowledge
2. skills ด้านความคิด
2.1 การแสดงความคิดอย่างอิสระ กล้าคิด และคิดเป็น
Teaching methods.
อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิด เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และอธิบายเพิ่มเติมจากคำตอบของนักศึกษา
assessment.
classroom conditions. อากาศถ่ายเท มีอุณหภูมิพอเหมาะ เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา
self. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ใช้ ร ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง มีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน และตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น
friend. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
professor. อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น
professor. อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น