if (e.which == 3) { alert(message);return false; }}} if (document.layers) {document.captureEvents(Event.MOUSEDOWN); }document.onmousedown=click; // -->

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Save time 2 Tuesday Date 18 August 2015


Diary notes.


Knowledge.

หลักในการเลือกเรื่อง
    
      หัวข้อที่จะเลือกจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการเด็กนั้น มีหลักในการเลือกใช้ ดังนี้
     1. เลือกสิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก 
     2. เลือกสิ่งที่เด็กสนใจ
     3. เลือกสิ่งที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

เรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก คือ สถานการณ์หรือสิ่งของที่เด็กจะต้องพบ สัมผัสเป็นประจำ หรือการดำรงชีวิตประจำ วัน 
เรื่องที่เด็กสนใจ   คือ ความต้องการในสิ่งที่อยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง เพื่อหาคำตอบของเด็ก
เรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก คือ สิ่งที่ส่งผลต่อพัฒนาการ 4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และ สติปัญญา

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
      
     ทำไมเราต้องเรียนวิทยาศาสตร์ >> เพื่อเรียนรู้ >> มีเหตุผล >> รู้เท่าทัน >> นำไปใช้ประโยชน์ >> เกิดการพัฒนา
      
พัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Development)

       พัฒนาการทางสติปัญญา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านความสามารถทางภาษา การคิดของแต่ละบุคคล 
       พัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนามาจากการมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ
             1. กระบวนการดูดซึม (assimilation)
             2. กระบวนการปรับโครงสร้าง (accomodation) 
                 2.1 การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุล
                 2.2 การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
                 2.3 ปรับโครงสร้างความคิดให้สอดคล้องเหมาะสม กับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับเข้ามา
                 2.4 ปรับแนวคิดและพฤติกรรม จะทำให้เกิดภาวะสมดุลแล้วเกิดเป็นโครงสร้างทางสติปัญญาขึ้น (cognitive structure)


>>>สติปัญญาเกิดจากการปรับแนวคิดหรือพฤติกรรม เพื่อให้สามารถอยู่รอดในสังคมได้<<<

ทฤษฏีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์
    
      เพียเจท์ เชื่อว่า พัฒนาการด้านสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
          ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) เริ่มตั้งแต่อายุแรกเกิด - 2 ปี  พัฒนาการด้านสติปัญญาในวัยนี้ เด็กจะแสดงออกทางร่างกายด้วยการกระทำ
          ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (Preoperational Stage) อายุ 2 - 7 ปี แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
                      ระยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (Preconceptual Thought) 
                      ระยะที่ 2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought) 
           ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อายุ 7 - 11 ปี เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ 


skills.
   
    1. skills ด้าน Technology
        1.1 การ Search Information จาก Internet
        1.2 การจัดทำแผนที่ความคิด My mapping สรุป Knowledge
    2. skills ด้านความคิด
        2.1 การแสดงความคิดอย่างอิสระ กล้าคิด และคิดเป็น


Teaching methods.
     
     อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิด เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และอธิบายเพิ่มเติมจากคำตอบของนักศึกษา



assessment.

classroom conditions. อากาศถ่ายเท มีอุณหภูมิพอเหมาะ เก้าอี้เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา

self. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ใช้ ร ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง มีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน และตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น

friend. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

professor. อาจารย์ให้ความเป็นกันเอง บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาดสะอ้าน และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดถ้อยชัดคำ เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น